ความแตกต่างระหว่างการตรวจส่องกล้อง กับ การกลืนแป้ง
การตรวจระบบทางเดินอาหารแบบกลืนแป้ง (Upper GI study) เป็นเทคนิคการตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นผ่านการตรวจทางรังสี ซึ่งมีความเสี่ยง 2 ประการ ได้แก่ ความเสี่ยงจากการได้รับรังสี และความแม่นยำต่ำ เนื่องจากเป็นภาพเอกซเรย์ที่สังเกตยากเมื่อเงาซ้อนทับหลายชั้น โดยเฉพาะบริเวณที่ซ้อนทับกันเช่นเยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ ปัจจุบันหลายประเทศเลือกใช้วิธีนี้น้อยลง
ประเทศญี่ปุ่นมีสถิติประชากรป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่สูงมาก ดังนั้นจึงแนะนำการตรวจด้วยวิธีส่องกล้อง (Gastroscopy) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทันสมัยและแม่นยำมากกว่า
การส่องกล้องทางเดินอาหาร (Gastroscopy)
Gastroscopy คือ วิธีที่ทำให้แพทย์สามารถมองเข้าไปในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นได้โดยตรง โดยใช้กล้องส่องกระเพาะอาหาร แพทย์จะสามารถดูการอักเสบ ดูแผล ดูเนื้องอก ตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง เพาะเชื้อเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งการส่องกล้องเพื่อห้ามเลือด สำหรับรักษาเลือดออกทางเดินอาหาร
สมิติเวช สุขุมวิท จับมือโรงพยาบาล “ซาโน่” ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องจากญี่ปุ่นพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
ท่านที่เลือกส่องกล้องทางเดินอาหาร (Gastroscopy)
・กรุณานำเอกสารมาส่งก่อนวันตรวจ 10 วัน หรือสแกนส่งมาที่ E-mail : japan@samitivej.co.th
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
Colonoscopy คือ การใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก มีเลนส์ขยายภาพปลายอีกด้านหนึ่งต่อเข้าเครื่องกำเนิดแสง แล้วส่งภาพมายังจอรับภาพโดยการส่องเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ ส่วนปลาย ส่วนกลาง ส่วนต้น และลำไส้เล็กส่วนปลาย และเพิ่มความแม่นยำ ด้วยเทคโนโลยี AI
ท่านที่เลือกส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
・กรุณานำเอกสารมาส่งก่อนวันตรวจ 10 วัน หรือสแกนส่งมาที่ E-mail : japan@samitivej.co.th
・กรุณาให้ผู้ตรวจมารับยาระบายล่วงหน้าอย่างน้อย 3-5 วันก่อนวันตรวจ ที่ Japanese Wellness Center 07:00-15:00 น.
・กรุณาอ่านคำอธิบายในการควบคุมอาหารและการทานยาระบาย <ดาวน์โหลด>